ดูรายละเอียด

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ (Transvaginal ultrasound) คืออะไร?

เป็นการตรวจดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง ได้แก่ มดลูก และรังไข่ โดยการอัลตร้าซาวด์ผ่าน ช่องคลอด ซึ่งเข้ามามีบทบาททางการแพทย์มากเพราะสามารถเห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจนกว่าการอัลตร้าซาวด์ผ่านทางหน้าท้อง มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูก โพรงมดลูก รังไข่ เช่น เนื้องอกที่มดลูก ซีสต์ที่รังไข่ เป็นต้น

 

ทำไมต้องตรวจตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่

การตรวจอัลตร้าซาวด์ มดลูกและรังไข่ ไม่ได้เป็นเพียงการหาความผิดปกติ แต่ยังเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค เช่น

  • ตรวจหาเนื้องอกในมดลูก

  • ซีสต์หรือถุงน้ำของรังไข่ เช่น ช็อคโกแลตซีสต์

  • ความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น ติ่งเนื้อ

  • ความผิดปกติของปากมดลูกและช่องคลอด

  • มะเร็งปากมดลูก

ใครบ้างที่ควรตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป หรืออายุน้อยกว่าแต่พบปัญหาดังนี้

  • ปวดท้องน้อย หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • คลำพบก้อนที่ท้องน้อย

  • หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางนรีเวช ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี

การเตรียมตัวก่อนตรวจภายใน และอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่

  • แนะนำให้เข้ารับการตรวจหลัง หมดประจำเดือนอย่างน้อย 3 วัน

  • ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือไม่ใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดภายใน 2 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจ

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 วัน

  • กรณีมีประจำเดือน หรือปวดท้องประจำเดือนอย่างมาก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมดก่อน

  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป และปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจ

 

.............................................................................

 

Body Composition

การตรวจวัด Body Composition (การวัดองค์ประกอบของร่างกาย) เป็นการประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้ทราบถึงสัดส่วนของไขมัน กล้ามเนื้อ และน้ำในร่างกาย การตรวจวัดเหล่านี้ช่วยให้คุณเข้าใจถึงสุขภาพโดยรวมและการจัดการน้ำหนักที่ดีขึ้น นี่คือสิ่งที่สามารถตรวจวัดได้และวิธีการที่ใช้:

สิ่งที่สามารถตรวจวัดได้:

  1. เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย (Body Fat Percentage)

    • วัดสัดส่วนของไขมันเปรียบเทียบกับน้ำหนักรวมของร่างกาย

  2. มวลกล้ามเนื้อ (Muscle Mass)

    • วัดปริมาณกล้ามเนื้อที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งช่วยในการประเมินระดับความแข็งแรงและการออกกำลังกาย

  3. มวลกระดูก (Bone Mass)

    • วัดปริมาณกระดูกในร่างกาย ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินความแข็งแรงของกระดูก

  4. น้ำในร่างกาย (Body Water)

    • วัดปริมาณน้ำในร่างกาย ซึ่งรวมถึงน้ำภายในเซลล์ (Intracellular Water) และน้ำภายนอกเซลล์ (Extracellular Water)

  5. มวลร่างกายที่ไร้ไขมัน (Lean Body Mass)

    • รวมถึงมวลกล้ามเนื้อและมวลกระดูก รวมถึงของเหลวในร่างกายที่ไม่ใช่ไขมัน

  6. ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index - BMI)

    • วัดความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง ซึ่งช่วยให้ประเมินระดับของน้ำหนักที่เหมาะสม

  7. ปริมาณไขมันในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย

    • การวัดไขมันที่สะสมในบริเวณเฉพาะ เช่น หน้าท้อง, ต้นแขน, และต้นขา