ดูรายละเอียด

ตรวจหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

Brain-Ultrasound Carotid artery Bilateral

การที่มีหลอดเลือดสมองตีบนั้น บางครั้งยังไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ถ้าทิ้งไว้จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัมพาตอัมพฤกษ์ซึ่งอาจร้ายแรงถึงชีวิตได้ ส่งผลให้เกิดอาการหน้าเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้หรือฟังไม่เข้าใจ การหาความเสี่ยงและป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมาก วิธีที่ง่ายๆและรวดเร็วก็คือตรวจโดยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ (คลื่นเสียงความถี่สูง) เพื่อตรวจหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดบริเวณคอที่ส่งเลือดจากหัวใจไปยังสมอง เพื่อวิเคราะห์การไหลเวียนของเลือด

การตรวจอัลตราซาวนด์การไหลเวียนของหลอดเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงสมองที่คอ

เมื่อเส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอ (Carotid Artery) มีการสะสมของคราบไขมัน (Atherosclerotic Plaque) มากขึ้นจะทำให้เส้นเลือดดังกล่าวเริ่มมีการตีบตันและการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะอาศัยลักษณะภาพสะท้อนคลื่นเสียง และตรวจจับหาการไหลเวียน ซึ่งการตรวจด้วยวิธีดังกล่าวนี้ใช้หลักการของอัลตราซาวนด์ซึ่งเป็นการตรวจที่ Non-Invasive ปลอดภัยและไม่เจ็บตัว ไม่มีการใช้รังสีและสารทึบแสงเพื่อบอกว่าจะมีหรือไม่มีการตีบตันของเส้นเลือดดังกล่าว เป็นเหตุให้สมองขาดเลือดและเกิดอาการอัมพาต (Stroke) ตามมา นอกจากนี้ในกรณีที่มีการตีบ การตรวจวัดความเร็วของการไหลของเลือดจะสามารถจำแนกความรุนแรงของการตีบแคบของหลอดเลือด เพื่อช่วยในการเลือกวิธีการรักษาอีกด้วย

ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ

  • คนที่มีประวัติการตีบตันของหลอดเลือดบริเวณอื่น
  • คนไข้เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่หรือใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่
  • ประวัติครอบครัวเป็นเส้นหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบ
  • คนอ้วน
  • คนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด